วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทฤษฎีการเรียนรู้


อ้างอิง
- ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545
เป็นหนังสือของสำนักพิมพ์ของจุฬาฯ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
- สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544
เป็นหนังสือของสำนักพิมพ์ของจุฬาฯ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
- http://school.obec.go.th/sup_br3/rn_05.htm
เป็นลิงค์จากเวปไซต์กระทรวงศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
- http://gotoknow.org/blog/suwit-rakmanee/301463
เป็นลิงค์จากเวปไซต์จากชุมชนออนไลน์สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในปานกลาง
http://digital.lib.kmutt.ac.th/Class/Education/Study_Technology/project_phycology/unit9.htm

เป็นลิงค์จากเวปไซต์ห้องสมุดออนไลน์ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในระดับสูง
- http://puvadon.multiply.com/journal/item/6/6
เป็นลิงค์จากเวปไซต์จากชุมชนออนไลน์สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือในปานกลาง

เนื้อหาและประเด็นสำคัญ


การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)

สมองกับการเรียนรู้
1.คนเราเกิดมาพร้อมกับจำนวนเซลสมองที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
2.การขยายตัวของสมองไม่ได้มาจากการเพิ่มจำนวนเซลของสมอง แต่มาจาก “ใยประสาท”
3.สมองมีความยืดหยุ่น หากเราใช้สมองในการแก้ไขปัญหา สมองก็จะมีการสร้างใยประสาทเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ใช้ใยประสาทก็จะถูกทำลายลงไป
4.อารมณ์มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ โดยอารมณ์จะเป็นตัวช่วยเราในการเรียกความทรงจำเดิมที่เก็บไว้ในสมอง
5.ภาวะของสมองที่เหมาะสมที่สุดต่อการเรียนรู้ว่า ความตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed alertness)
6.การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จที่สุดเมื่อกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสบการณ์ทางกายภาพที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้
7.เราจะจำสิ่งต่าง ๆ ได้แม่นยำที่สุดเมื่อข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะฝังอยู่ในจากกิจกรรมในชีวิตจริงตามธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดความจำการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์
8.เราเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นโดยการปฏิบัติ หรือการฝึกทำ
9.สมองซีกซ้าย คือ ตรรกะ ตัวเลข การวิเคราะห์
10.สมองซีกขวา สั่งการเกี่ยวกับ ศิลปะ ดนตรี จินตนาการ การสังเคราะห์

พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
1.การทำให้เด็กเกิดการตื่นตัวแบบผ่อนคลาย
- การสร้างบรรยากาศให้เด็กไม่รู้สึกเหมือนถูกกดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้ค้นคว้าหาคำตอบ
2.การทำให้เด็กจดจ่อในสิ่งเดียวกัน
- การใช้สื่อหลาย ๆ แบบ รวมทั้งการยกปรากฏการณ์จริงมาเป็นตัวอย่าง และการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ
- การเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ อย่าง
- การอธิบายปรากฏการณ์ด้วยความรู้ที่เด็กได้รับ
3.ทำให้เกิดความรู้จากการกระทำด้วยตนเอง
- การให้เด็กได้ลงมือทดลอง ประดิษฐ์ หรือได้เล่าประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้อง

ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) ของ Howard Gardner

- เด็กแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล แตกต่างกัน
- คนทุกคนมีสติปัญญาทั้ง 8 ด้านที่อาจจะมากน้อยแตกต่างกันไป บางคนอาจจะสูงทุกด้านบางคนอาจจะสูงเพียงด้าน หรือสองด้าน ส่วนด้านอื่น ๆ ปานกลาง
- ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นถึงระดับใช้การได้ถ้ามีการฝึกฝนที่ดี มีการให้กำลังใจที่เหมาะสม ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- ปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้


ทฤษฎีการเรียนรู้


การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครูมีหน้าที่จัดประการณ์ในห้องเรียน เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน นักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ ทฤษฎีของการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะขอนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา

1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม

ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
1.พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
2.พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3.แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior)
หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)

2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior)
เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป


ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยม
1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า
ผู้ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฏการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเบบคลาสสิก

จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้

การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้

จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลองของพาฟลอฟ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ และกฏการเรียนรู้ดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้
1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปราฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง

กฎแห่งการเรียนรู้
1. กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction) คือ ความเข้มข้นของการตอบสนอง จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ถ้าอินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว หรือความ มีสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างออกไปมากขึ้น

2. กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery) คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฎขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่ช่วย
3. กฎแห่งสรุปกฏเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น

4. กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้ว ถ้าสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองแตกต่างไปจาก สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้วเมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงประทัดหรือเสียงปืนจะไม่มีอาการน้ำลายไหล
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตในมุมมองของพาฟลอฟ คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ซึ่งหมายถึงการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดการเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 สิ่งในลักษณะเดียวกัน แล้วไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออกไป การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่นเอง

การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผน การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
2.การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
3.การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
4.การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง เช่น การอ่านและการสะกดคำ ผู้เรียนที่สามารถสะกดคำว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง o-u-n-d ไปในขณะเดียวกันได้ เช่นคำว่า found, bound, sound, ground, แต่คำว่า wound (บาดแผล) นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง o - u - n - d และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม

2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory)


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ (Operant Conditioning Theory) หรือ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ซึ่งมี สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เป็นเจ้าของทฤษฎีสกินเนอร์ได้ทดลองการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์กับหนูและนกในห้องทดลอง จนกระทั้งได้หลักการต่าง ๆ มาเป็นแนวทางการศึกษาการเรียนรู้ของมนุษย์สกินเนอร์มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เพราะทฤษฎีนี้ต้องการเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสนับสนุนและการลงโทษ โดยพัฒนาจากทฤษฎีของ พาฟลอฟ และธอร์นไดค์ โดยสกินเนอร์มองว่าพฤติกรรมของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของตนเอง พฤติกรรมของมนุษย์จะคงอยู่ตลอดไป จำเป็นต้องมีการเสริมแรง ซึ่งการเสริมแรงนี้มีทั้งการเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) และการเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) การเสริมแรง หมายถึง ผลของพฤติกรรมใด ๆ ที่ทำให้พฤติกรรมนั้นเข้มแข็งขึ้น
การเสริมแรงทางบวก หมายถึง สภาพการณ์ที่ช่วยให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นในด้านความที่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนการเสริมแรงทางลบเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์อาจจะทำให้พฤติกรรมโอเปอแรนท์เกิดขึ้นได้ในการด้านการเสริมแรงนั้น สกินเนอร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยได้แยกวิธีการเสริมแรงออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การให้การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้
2. การให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Partial Reinforcement) เป็นการให้การเสริมแรงเป็นครั้งคราว โดยไม่ให้ทุกครั้งที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โดยแยกการเสริมแรงเป็นครั้งคราว ได้ดังนี้
2.1 เสริมแรงตามอัตราส่วนที่แน่นอน
2.2 เสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอน
2.3 เสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน
2.4 เสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
การเสริมแรงแต่ละวิธีให้ผลต่อการแสดงพฤติกรรมที่ต่างกัน และพบว่า การเสริมแรงตามอัตราส่วนที่ไม่แน่นอนจะให้ผลดีในด้านที่พฤติกรรมที่พึงประสงค์จะเกิดขึ้นในอัตราสูงมาก และเกิดขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลานานหลังจากที่ไม่ได้รับการเสริมแรง จากการศึกษาและทดลองของสกินเนอร์นั้น สามารถสรุปเป็นลักษณะ และทฤษฎีการเรียนรู้ของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์หรือทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำได้ดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้
1. การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรง จะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มที่ความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
2. การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
3. การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
4. การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อผู้เรียนกระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้


การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1. ในการสอน การให้การเสริมแรงหลังการตอบสนองที่เหมาะสมของเด็กจะช่วยเพิ่มอัตรากาตอบสนองที่เหมาะสมนั้น
2. การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ หรือเปลี่ยนรูปแบบการเสริมแรงจะช่วยให้การตอบสนองของผู้เรียนคงทนถาวร
3. การลงโทษที่รุนแรงเกินไป มีผลเสียมาก ผู้เรียนอาจไม่ได้เรียนรู้หรือจำสิ่งที่เรียนรู้ไม่ได้ ควรใช้วิธีการงดการเสริมแรงเมื่อผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
4. หากต้องการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปลูกฝังนิสัยให้แก่ผู้เรียน ควรแยกแยะขั้นตอนของปฏิกิริยาตอบสนองออกเป็นลำดับขั้น โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน และจึงพิจารณาแรงเสริมที่จะให้แก่ผู้เรียน

2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism)
ทฤษฎี Constructivism มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้ ความเชื่อพื้นฐานของ Constructivism มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ และวิก็อทสกี้ ทฤษฎี Constructivism จึงแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ
1. Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียน ปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่ง เกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
2. Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม (Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น

ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
1.ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2.การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4.การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพุทธิปัญญานิยม
ทฤษฎีทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญของ บรุนเนอร์มีดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้
1.. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ แบ่งได้เป็น 3 ขั้น ใหญ่ๆ คือ
5.1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่างๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
5.2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพ แทนของจริงได้
5.3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6. การเรียนรู้เกิดได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถสร้างหรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)


การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
3. การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
4. ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มาก เพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
5. การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
6. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
7. การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
8. การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี


3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) เป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอบันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน

ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา
1. บันดูรา ได้ให้ความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม และถือว่าการเรียนรู้ก็เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม โดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน บันดูราได้ถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะ เรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมและได้อธิบายการปฏิสัมพันธ์ ดังนี้




2. บันดูรา ได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) ว่าความแตกต่างนี้สำคัญมาก เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ บันดูราได้สรุปว่า พฤติกรรมของมนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
2.1 พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ ผู้ซึ่งแสดงออก หรือ กระทำสม่ำเสมอ
2.2 พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ

2.3 พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ
3. บันดูรา ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะคงตัวอยู่เสมอ


การประยุกต์ในด้านการเรียนการสอน
1. ตั้งวัตถุประสงค์ที่จะทำให้นักเรียนแสดงพฤติกรรม หรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
2. ผู้สอนแสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆตัวอย่าง ซึ่งอาจจะเป็น คน การ์ตูน ภาพยนตร์ วิดีโอ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
3. ผู้สอนให้คำอธิบายควบคู่ไปกับการให้ตัวอย่างแต่ละครั้ง
4. ชี้แนะขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน เช่น แนะให้นักเรียนสนใจสิ่งเร้าที่ควรจะใส่ใจหรือเลือกใส่ใจ
5.จัดให้นักเรียนมีโอกาสที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ เพื่อจะได้ดูว่านักเรียนสามารถที่จะกระทำโดยการเลียนแบบหรือไม่ ถ้านักเรียนทำได้ไม่ถูกต้องอาจจะต้องแก้ไขวิธีการสอนหรืออาจจะแก้ไขที่ตัวผู้เรียนเอง
6.ให้แรงเสริมแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้ถูกต้อง เพื่อจะให้นักเรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้และเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน





24 ความคิดเห็น:

  1. การนำเสนองานเรื่องทฤษฎีการเรียนรู้ เนื้อหาค่อนข้างครบถ้วนสมบูรณ์ มีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ เพราะว่ามีการใช้รูปภาพมาประกอบ แต่ด้วยเวลาที่จำกัด การนำเสนอจึงเร็วไปบ้าง ทำให้เพื่อนอาจจะฟังไม่ค่อยทัน ส่งผลให้เกิดการปฏิสัมพันธ็กับผู้ฟังได้น้อย สุดท้ายขอขอบคุณเพื่อนๆสำหรับการตั้งใจฟัง และการถาม-ตอบ เพื่อเกิดความรู้ใหม่ๆและขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนกลุ่มต่อไปด้วยนะคะ...


    By G6 ^-^

    ตอบลบ
  2. จากทฤษฏีการเรียนรู้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนได้ เนื่องจากบุคคลแต่ละบุคคลมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน พฤติกรรมของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับตนเอง

    ตอบลบ
  3. ดิฉันสนใจในเรื่องของ การเรียนรู้แบบค้นพบ จึงไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักการสอนเพื่อการเรียนรู้แบบการค้นพบของ Jerome Bruner ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นประโยชน์กับพวกเรา จึงได้นำมาให้เพื่อนๆได้ศึกษาดู

    Jerome Bruner ผู้นำเสนอแนวคิดการเรียนรู้แบบนี้กำหนดหลักการสอนเพื่อการเรียนรู้แบบการค้นพบไว้ ดังนี้
    1. ครูต้องมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน จนนักเรียนเกิดความรู้สึกว่าครูเชื่อมั่นในความสามารถ ความอยากรู้อยากเห็น และแรงจูงใจในการเรียนของเขา
    2. ครูต้องจัดโครงสร้างของบทเรียนให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียนและธรรมชาติของบทเรียน ตลอดจนสอดคล้องกับพื้นฐานและประสบการณ์เดิมของนักเรียน
    3. ครูต้องจัดบทเรียนตามลำดับความยากง่ายสอดคล้องกับลำดับขั้นการพัฒนาทางเชาวน์ปัญญาของนักเรียน 3 ขั้น คือ เรียนรู้จากการสัมผัส เรียนรู้จากจินตนาการหรือสร้างภาพในใจ และเรียนรู้จากสัญลักษณ์และภาษา
    4. ครูต้องกระตุ้นให้นักเรียนเสริมแรงตนเองคือให้ตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ (ตามความสามารถที่มี) เมื่อเกิดการเรียนรู้จะเกิดความภูมิใจ มีแรงจูงใจในการศึกษาเล่าเรียนต่อไป
    5. ครูต้องให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งทางบวก (เสริมแรง) และให้รู้ข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง ไม่ถือว่าความผิดพลาดเป็นสิ่งเสียหายน่าละอายถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ เมื่อแก้ไขให้ถูกต้องก็จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นในที่สุด

    ตอบลบ
  4. "ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
    ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง"
    ดิฉันคิดว่า เป็นการสร้างการเรียนรู้ที่ดี เพราะถ้าเราสามารถเข้าในสิ่งที่เราต้องการเข้าใจ แล้วเราสามารถทำความเข้าใจเองได้ มันจะทำให้เราสามารถจำได้ดีและนานกว่าสิ่งที่เราฟัง หรือรับรู้จากผู้อื่นในเรื่องของความเข้าใจนั้น ๆ เมื่อเราสามารถค้นพบหรือเรียนรู้เข้าใจเองได้แล้วเราก็จะสามารถทำความเข้าใจเรื่องที่จะเรียนรู้ต่อไปได้โดยใช้ประสบการณ์การเรียนรู้เดิมเข้ามาทำให้ความจำดีขึ้น

    นางสาวยุพาวดี มหาหิง G5 ID 50410779

    ตอบลบ
  5. ประเด็นที่ผมรู้สึกชอบและเห็นว่าน่าจะมีความสำคัญกับหลายๆคนร่วมถึงตัวผมด้วยนะครับ คือ การเรียนรู้อย่างมีความหมาย ในที่นี้คือการที่เราได้เรียนรู้และรู้จักที่จะนำไปใช้ เพราะว่าการเรียนรูเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และทุกคนล้วนมีความรู้ทั้งสั่งสมมวลประสบการณ์ต่างๆไว้มากมาย แต่ที่เป็นปัญหาโดยมากแล้วไม่สามารถที่จะนำความรู้ไปใช้ได้จริง ก็เท่ากับว่าเราไม่สามารถบรรลุในเรื่องของ การใช้ประโยชน์จากความรู้ของเรา พูดง่ายๆคือเราควรมีwisdom ความฉลาดรู้เพื่อนำความรูที่เรามีอยู่มาใช้ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดนั้นเอง

    ตอบลบ
  6. ประเด็นที่ผมสนใจคือ พื้นฐาน 3 ข้อของการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

    ผมคิดว่าเหมาะมากที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างมาก เพราะเหมือนมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวตลอดเวลา และผู้เรียนยังได้ทดลองปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี อีกทั้งการไม่กดดันผู้เรียน สามารถทำให้ผู้เรียนไม่มีอาการเบื่อด้วย

    นายพงศ์พิสุทธิ์ ทองสุข G.1 ID 50410663

    ตอบลบ
  7. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Constructivism)

    สรุปได้ว่า เป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง ซึ่งจะไม่เน้นการให้เนื้อหาที่ผู้เรียนจะต้องเรียน แต่เน้นที่ตัวผู้เรียน และประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ


    พัสตราภรณ์ คำจันทร์ รหัส 50411288 (G7)

    ตอบลบ
  8. เรามีความสนใจเรื่อง...

    "ผู้เรียนจะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง" (Self-regulated Learning)

    อยากให้เพื่อนกลุ่ม (G6) ช่วยเพิ่มเติมความรู้หน่อยจ้า

    ตอบลบ
  9. ประเด็นที่ดิฉันสนใจคือ ภาวะของสมองที่เหมาะสมที่สุดต่อการเรียนรู้ว่า ความตื่นตัวแบบผ่อนคลาย (Relaxed alertness)
    เพราะว่า ถ้าเราเรียนในสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้สึกว่ามันกดดัน เครียด มีความวิตกกังวล อย่างเช่น ครูเรียกถามทีละคน ถ้าใครตอบผิดจะหักคะแนน มันจะทำให้เด็กคิดอะไรไม่ออก หาคำตอบนั้นไม่ได้ กลัวตอบผิดแล้วเพื่อนจะหัวเราะเยาะ มันก็จริงที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความตื่นตัวได้ แต่ไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้เลย ดังนั้น เราต้องสร้างบรรยากาศให้น่าเรียน อาจจะสร้างความตื่นตัวโดยการหากิจกรรมมาให้ผู้เรียนทำ ซึ่งมันจะช่วยให้เราผ่อนคลายลงได้ และสนุกกับการเรียนรู้ด้วย

    เอมาพร หวลหอม G3
    ID 50411356

    ตอบลบ
  10. การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระ
    นักเรียนแต่ละคนมีความรู้ ความสามารถ ความสนใจ และการแสดงออกที่แตกต่างกัน ครูควรมีวิธีการสอนที่หลากหลายและรู้จักปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละชั้นเรียน วิธีการสนับสนุนและฝึกให้นักเรียนได้ใช้สมองคิดอย่างหลากหลายและให้ผู้เรียนคิดอย่างอิสระเต็มที่ จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาสมองได้อย่างเต็มที่ และการเรียนมีการพัฒนาขึ้น มีความรับผิดชอบและสนใจ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก มีความคิดแปลกใหม่ และสร้างสรรค์ ทำให้สามารถนำกระบวนการคิดมาพัฒนาตนเองในชีวิตประจำวันและเรียนอย่างมีความสุขได้

    สุมิตรา อันทะปัญญา G7
    50411325

    ตอบลบ
  11. ^^ ประเด็น:อารมณ์มีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ ^^

    อารมณ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ เพราะว่าอารมณ์ทำให้ทั้งทางร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงไป อย่างเช่นเมื่อผู้เรียนอารมณ์ดี จิตใจก็เบิกบาน ทำให้การเรียนรู้เป็นไปในทางที่ดี สามารเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข


    นางสาวอัจฉริยา บุญยืน 50411349 [G5]

    ตอบลบ
  12. ความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ การที่เด้กมีสติปัญญาต่างกัน ความชอบต่างกัน การเรียนรู้ก็ย่อมต่างกันไปด้วย ครู จึงควรส่เสริมการเรียนรู้ ให้เด็กอย่างครอบคลุมมากที่สุด


    นางสาวรัชนี นันทา 50410786 (G5)

    ตอบลบ
  13. สนใจประเด็นที่ว่า การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
    ทำไมเราต้องป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษผู้เรียน ลองมองในมุมกลับกันนะครับ ถ้าผู้เรียนอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของผู้สอนคงไม่มีการทำโทษเกิดขึ้น
    เพราะฉะนั้นน่าจะปรับปรุงที่ตัวผู้เรียนมากกว่าไปป้องกันไม่ให้ผู้สอนลงโทษ


    นายพิษณุ ศิริสวัสดิ์พิพัฒน์ 50410700 (G4)

    ตอบลบ
  14. ผมสนใจในประเด็นเรื่อง ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
    ในเรื่องของ การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
    1. กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
    2. การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน

    สำหรับความเห็นข้อผมมีดังนี้ครับ

    ข้อ1.บ่งบอกถึงตัวผู้เรียน ถ้าผู้เรียนมีกระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ก็จะรู้ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร ได้ลองผิดลองถูก จนค้นพบคำตอบ ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดด้วยตัวเอง และจะเข้าใจในเนื้อหาอย่างถ่องแท้

    ข้อ2.บ่งบอกถึงตัวครู ครูต้องคิดวิเคราะห์หลักสูตร จะจัดเนื้อหาอย่างไรให้เหมาะสมกับวัย จะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมโดยที่ทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือทำอย่างไรให้ผู้เรียนได้เกิดกระบวนการคิดมากที่สุด เป็นสิ่งที่ครูต้องวิเคราะห์และมองภาพให้ออก

    ใน2ข้อนี้ผมคิดว่ามันสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง


    นาย อลงกรณ์ เซนักค้า 50411028

    ตอบลบ
  15. ผมมีความคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ศึกษาจากกระทู้ เพราะเหมือนว่าเป็นการทบทวนบทเรียนจากในชั่วโมงเรียนซ้ำอีกที ทำให้ผู้เรียนได้มาทบทวนบทเรียนซ้ำได้ หรือแม้กระทั่งจะเป็นการศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการที่จะนำเอามาใช้ในอนาคต และอาจศึกษาเพื่อประโยชน์ จากเนื้อหาในบทความบางส่วนที่สอดคล้องกับการเรียนในวิชาอื่น

    นายธนากรณ์ เจริญยิ่ง 50411813 G4

    ตอบลบ
  16. จากการศึกษาจากกระทู้นี้ เป็นการทบทวนจากการเรียนในชั่นเรียนอีกครั้งหนึ่งจากที่เพื่อนได้นำเสนอในชั้นเรียนนั้นมีความน่าสนใจ มีวิธีการนำเสนอที่ไม่น่าเบื่อ แต่มีบ้างที่อธิบายเร็วเกินไป แต่ก็ยังสามารถกลับมาทบทวนบทเรียนได้จากกระทู้นี้ ซึ่งดิฉันสนใจทฤษฏีการเรียนรู้ ที่ว่า การประยุกต์ในด้านการเรียนการสอน ทำให้เราได้ความรู้ในเรื่องการนำทฤษฏีไปประกอบการใช้ในการเรียนได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

    ตอบลบ
  17. จากการศึกษาจากกระทู้นี้ เป็นการทบทวนจากการเรียนในชั่นเรียนอีกครั้งหนึ่งจากที่เพื่อนได้นำเสนอในชั้นเรียนนั้นมีความน่าสนใจ มีวิธีการนำเสนอที่ไม่น่าเบื่อ แต่มีบ้างที่อธิบายเร็วเกินไป แต่ก็ยังสามารถกลับมาทบทวนบทเรียนได้จากกระทู้นี้ ซึ่งดิฉันสนใจทฤษฏีการเรียนรู้ ที่ว่า การประยุกต์ในด้านการเรียนการสอน ทำให้เราได้ความรู้ในเรื่องการนำทฤษฏีไปประกอบการใช้ในการเรียนได้อย่างน่าสนใจทีเดียว

    นางสาวสิริญญา ทิพย์ชาญ 50410908 G3

    ตอบลบ
  18. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  19. ถ้าจะพูดถึงทฤษฎีการเรียนรู้แล้ว....

    ดิฉันคิดว่า ทฤษฎีที่เจ๋งสำหรับนักเรียนที่สุด คือ ทฤษฎี Constructionism ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็ได้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งจะสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองจากการปฎิบัติงาน

    นางสาวอลิษา หาดนิล 50411332 (G5)

    ตอบลบ
  20. การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
    1.ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผน การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร

    ดังข้อความข้างบน ดิฉันมีข้อสงสัยว่า แล้วถ้าผู้เรียนมีความแตกต่างกันจริงๆทั้งด้านอารมณ์ การตอบสนองไม่เท่ากัน แล้วผู้สอนจะจัดการเรียนการสอนแบบไหนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เท่ากันค่ะ

    เพราะยังไงแล้วจะให้แยกห้องเรียนคงเป็นไปไม่ได้ และอารมณ์ของคนแต่ละคนเอาอะไรมาวัดว่าอารมณ์ไหนเหมาะกับเนื้อหาอะไร

    นางสาวอลิษา หาดนิล 50411332 (G5)

    ตอบลบ
  21. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

    เห็นด้วยกับข้อความข้างบนค่ะ เพราะ อะไรก็ไม่เท่าเจอด้วยตนเอง ดังสุภาษิตที่ว่า...

    สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
    สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ
    สิบมือคลำไม่เท่าทำเอง

    ดังนั้นผู้เรียนก็ต้องขวานขวายเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยนะค่ะ สร้างคำถามให้ตัวเองบ่อยๆๆแล้วหาคำตอบด้วยตัวเองค่ะ

    นางสาวอลิษา หาดนิล 50411332 (G5)

    ตอบลบ
  22. จากประเด็นข้างต้น เนื่องจากผมเข้าโรงพยาบาลเลยไม่ได้ฟังเพื่อนรายงาน แต่จากที่อ่าน ผมมีความเห็นว่า

    ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด และนักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ เช่น ทฤษฎี Constructivism ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ เป็นต้น ซึ่งครูที่ดีไม่ใช้ครูที่ทำตามทฤษฎี แต่เป็นครูที่นำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ หรือ อาจคิดทฤษฏีขึ้นมาใหม่ จากสถานการณ์ในห้องเรียน(สถานการณ์จริง) ซึ่งถ้าใช้แล้วประสบความสำเร็จ แสดงว่าตัวครูนั้นคือครูที่แท้จริง (สอนเป็น)

    พลวิชญ์ วัยวุฒิ 50410694 (G1)

    ตอบลบ
  23. ไม่ระบุชื่อ31 มกราคม 2565 เวลา 22:23

    The sands casino offers 100,000 square feet of entertainment
    The sands casino has a large number of table games deccasino and sports betting machines. There are a variety septcasino of games and betting machines. All youtube mp4

    ตอบลบ
  24. Top 4 Casino Site In The USA - Dr.MD
    1 Casino 울산광역 출장안마 With Highest 안산 출장안마 Quality 충청북도 출장마사지 Slots, No Deposit Bonuses & Huge Jackpots! a world-class gaming 화성 출장샵 experience, and that's 남양주 출장안마 what makes these casino sites so extraordinary.

    ตอบลบ